Custom Search

รายการบล็อกของฉัน

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การจะบริหารข้อมือ ข้อนิ้ว ข้อเท้า มีวิธีและมีข้อดีอย่างไรบ้าง

คน ที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ 
คงคุ้นเคยกับเสียงนี้เป็นอย่างดี เพราะในวันหนึ่งๆ เราต้องกดเมาส์นับร้อยนับพันครั้ง โดยหารู้ไม่ว่า การใช้นิ้วชี้กดและลากเมาส์เป็นประจำโดยขาดการบริหารข้อมือ อาจนำโรคร้ายแรงที่ชื่อว่า โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome) ทำให้เกิดอาการปวดและชาตามข้อมือ หากปล่อยทิ้งไว้นาน อาการนี้จะลุกลามไปสู่บริเวณต้นคอซึ่งถือว่ารุนแรงมาก

จึงมีท่าบริหารเส้นประสาทและเส้นเอ็นบริเวณท่อนแขนและข้อมือมาแนะนำ ดังนี้

ท่าบริหารเส้นประสาทแขนและข้อมือ
1. ตั้งฝ่ามือขึ้นแล้วกำมือ
2. แบมือและเหยียดนิ้วทุกนิ้วให้ตรงที่สุด โดยให้แต่ละนิ้วชิดกัน
3. หงายฝ่ามือไปด้านหลัง ขณะเดียวกันให้กางนิ้วโป้งให้ห่างจากฝ่ามือมากที่สุด
4. ใช้นิ้วหัวแม่มืออีกข้างดึงนิ้วโป้งให้ห่างจากฝ่ามือให้มากที่สุด

ทำแต่ละท่าค้างไว้ประมาณ 7 วินาทีควรทำซ้ำตั้งแต่งขั้นตอนที่ 1-4 อีกวันละ 5 ครั้ง

ท่าบริหารเส้นเอ็นข้อมือ
1. ตั้งฝ่ามือขึ้น แบมือและเหยียดนิ้วทุกนิ้วให้ตรง
2. งอนิ้วมือทุกนิ้วยกเว้นนิ้วโป้งให้ปลายนิ้วจรดโคนนิ้ว
3. กำมือและแบมือ
4. งอข้อนิ้วมือตรงโคนนิ้วของทุกนิ้ว ยกเว้นนิ้วโป้ง ให้ทำมุมตั้งฉากกับฝ่ามือ
5. กดนิ้วมือลงมาที่ฝ่ามือเบาๆ ขณะเดียวกันพยายามดึงนิ้วโป้งห่างออกจากฝ่ามือให้มากที่สุด

ทำ แต่ละท่าค้างไว้ประมาณ 7 วินาที ควรทำซ้ำตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1-5 อีกวันละ 5 ครั้ง ระหว่างทำงาน ปลีกเวลามาบริหารข้อมือสัก 1-2 นาที คอนเฟิร์มว่าไม่ป่วย และหายเมื่อยเป็นปลิดทิ้งแน่นอน
http://www.youtube-nocookie.com/v/Fpx-AyFgTXQ?



การจะบริหารข้อมือ ข้อนิ้ว ข้อเท้า มีวิธีอย่างไรบ้าง และมีข้อดีอย่างไร
เมื่อมีปัญหาจะขอถาม ดังนี้
๑. การหักนิ้วมือ ทำให้ข้อมือใหญ่หรือไม่ ไม่ทราบว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

๒. การจะบริหารข้อมือ ข้อนิ้ว ข้อเท้า มีวิธีอย่างไรบ้างคะ (มีข้อดีอย่างไร)

๓. เราจะดูแลและรักษาข้อตามร่างกายต่างๆได้โดยวิธีใดบ้าง

ตอบคำถาม
๑. การหักข้อนิ้วมือบ่อยๆ อาจทำให้ข้อนิ้วนั้นใหญ่ขึ้น เนื่องจากการหักข้อนิ้วจะทำให้เยื่อหุ้มรอบข้อต่อยืดออกและมีการหนาตัวขึ้น

๒. การ บริหารข้อต่อเป็นประจำสม่ำเสมอ จะทำให้ข้อต่อมีความคล่องตัวและป้องกันอาการปวดเมื่อย ของข้อต่อนั้นๆ ซึ่งสามารถทำได้โดยเคลื่อนไหวข้อต่อในทุกทิศทางการเคลื่อนไหวของข้อต่อนั้น ได้แก่ กำมือ เหยียดข้อนิ้วมือ กางหุบนิ้ว กระดกข้อมือขึ้นลง หมุนข้อมือ เป็นวงกลม กระดกข้อเท้าขึ้นลง บิดข้อเท้าเข้าออก และหมุนข้อเท้าเป็นวงกลม แต่ละท่าบริหาร ๕-๑๐ ครั้ง

๓. ควรออกกำลังกายและบริหารข้อต่อเป็น ประจำสม่ำเสมอ เช่น การบริหารข้อต่อต่างๆ ของคอ ลำตัว แขนและขา เป็นเวลาประมาณ ๑๐นาที ทุกวันหลังตื่นนอนตอนเช้าจะทำให้เกิดความคล่องตัวของข้อต่อ แล้วยังช่วยให้กล้ามเนื้อและเอ็นกล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่น เตรียมพร้อมที่จะทำงาน

นอกจากนี้ การหลีกเลี่ยงท่าทางการทำงานที่ไม่ถูกต้อง และการไม่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้ข้อต่อถูกใช้งานในท่าที่ผิดหรือถูกใช้งานมากเกินไป

เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย manes2006

รายการบล็อกของฉัน